- ประวัติความเป็นมา
- สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
- จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
- แผนพัฒนา 3 ปี
- แผนพัฒนา 5 ปี[update]
- แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
- แผนอัตรากำลัง 3 ปี
- แผนจัดซื้อจัดจ้าง
- แผนการดำเนินงาน
- แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
- ประกาศเจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
- โลโก้/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
- รางวัลต่าง ๆ
- สินค้า OTOP
- สถานที่ท่องเที่ยว
- แผนที่เทศบาลตำบลหล่มเก่า
- Administrator
- มาตรฐานภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน[update]
- การปฎิบัติการป้องกันการทุจริต
- การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล[update]
- งานการเงินและบัญชี [update]
- งานจัดซื้อจัดจ้าง[update]
- รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 63 รอบ 6เดือน
- ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
- การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
- รายงานการประเมิน ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประจำปีงบประมาณ 2562
- อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล
- ประกาศโครงสร้างส่วนราชการ เทศบาลตำบลหล่มเก่า
- กิจการสภาเทศบาลตำบลหล่มเก่า
|
|
|
|
|
|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาล
สภาพทั่วไป
ลักษณะที่ตั้ง
สำนักงานเทศบาลตำบลหล่มเก่า ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์
เป็นระยะทาง 57 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 403 กิโลเมตร
เนื้อที่
เทศบาลตำบลหล่มเก่า มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ ( เทศบาล / ภาพรวมของอำเภอ )
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต อบต.หล่มเก่า และ อบต.หินฮาว / ติดต่อกับเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต อบต.หล่มเก่า อบต. นาแซง / ติดต่อกับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศใต้ ติดต่อกับเขต อบต. นาแซง / ติดต่อกับเขตอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต อบต.หล่มเก่า และ อบต.วังบาล / ติดต่อกับเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาเป็นเนินเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบคล้ายแอ่งกระทะมีลำน้ำพุงเป็นลำน้ำหลัก
ห้วยน้ำใส ห้วยวังหิน ฯลฯ เป็นลำน้ำรอง กระจายอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลและพื้นที่ด้านตะวันตกของชุมชนหล่ มเก่า
การถือครองที่ดิน
การถือครองที่ดินในเขตเทศบาลตำบลหล่มเก่า มีการออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎร จำนวน
1,145 แปลง
การปกครอง
เทศบาลตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เปลี่ยนแปลงและยกฐานะเป็น “เทศบาล-
ตำบลหล่มเก่า ” โดยพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ปัจจุบันปกครองพื้นที่ 1 ตำบล 7
หมู่บ้าน 8 ชุมชน ดังนี้
ตำบลหล่มเก่า
1) หมู่ที่ 3 ยกทั้งหมู่ 1. ชุมชนวัดตาล
2) หมู่ที่ 4 ยกทั้งหมู่ 2. ชุมชนวัดศรีสุมัง
3) หมู่ที่ 5 บางส่วน 3. ชุมชนร่วมใจพัฒนา
4. ชุมชนคนในเมือง
4) หมู่ที่ 6 บางส่วน 5. ชุมชนบ้านกุดช้าง
5) หมู่ที่ 9 บางส่วน 6. ชุมชนบ้านพรวน
6) หมู่ที่ 12 ยกทั้งหมู่ 7. ชุมชนบ้านวังเวิน
7) หมู่ที่ 13 บางส่วน 8. ชุมชนบ้านเหล่าเพิ่ม
ประชากร
เทศบาลตำบลหล่มเก่า มีจำนวนหลังคาครัวเรือนในเขตพื้นที่ทั้งหมด 2,238 หลัง ประกอบด้วย
- หมู่ 3 จำนวน 124 หลัง หมู่ 9 จำนวน 278& ; ;nbs p; หลัง
- หมู่ 4 จำนวน 146 หลัง หมู่ 12 จำนวน 268 หลัง
- หมู่ 5 จำนวน 932 หลัง หมู่ 13 จำนวน 67 ; หลัง
- หมู่ 6 จำนวน 423 หลัง
ประชากรทั้งหมด 6,673 คน ( ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ) ดังนี้
หมู่บ้าน ประชากรชาย ประชาก รหญิง รวม
หมู่ 3 จำนวน 254 คน จำนวน 279 คน 533 คน
หมู่ 4 จำนวน 310 คน จำนวน 327 คน 637 คน
หมู่ 5 จำนวน 1,026 คน จำนวน 1,077 คน 2,103 คน
หมู่ 6 จำนวน 610 คน จำนวน 677 คน 1,287 คน
หมู่ 9 จำนวน 480 คน จำนวน 527 คน 1,007 คน
หมู่ 12 จำนวน 434 คน จำนวน 466 คน 900 คน
หมู่ 13 จำนวน 96 คน จำนวน 110 คน 206 คน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม
การคมนาคม ติดต่อระหว่าง อำเภอ จังหวัด เทศบาล รวมทั้งการคมนาคม ภายในตำบลหล่มเก่าและ
หมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 203 ( อำเภอหล่มสัก – จังหวัดเลย )
2. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2011 ( อำเภอหล่มสัก – อำเภอหล่มเก่า )
3. ทางหลวงแผ่นดิน สายหล่มเก่า – หล่มสัก –เพชรบูรณ์ สภาพถนนลาดยางอย่างดี
สำหรับเส้นทางติดต่อหรือถนนภายในเขตเทศบาล เป็นถนน คสล. และลูกรัง
การสื่อสารและโทรคมนาคม ดังนี้
1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
2. มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์โดยมีโทรศัพท์สาธารณะ&a mp;a mp;n bsp; จำนวน 8 แห่ง
3. มีหน่วยบริการไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
การสาธารณูปโภค ดังนี้
1) การประปาส่วนภูมิภาค มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา จำนวน 1,238 ครัวเรือน
( ข้อมูล มาจาก สำนักงานประปาส่วนภูมิภาคอำเภอหล่มสัก ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 )
2) การไฟฟ้า มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 2,683 ครัวเรือน
( ข้อมูล มาจาก สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหล่มเก่า ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 )
ด้านเศรษฐกิจ
1) การเกษตรกรรม
ในเขตเทศบาลตำบลหล่มเก่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ
มะขามหวาน ข้าว มะม่วง ฯลฯ
2) การปศุสัตว์
ในเขตเทศบาลตำบลหล่มเก่า ประชากรส่วนใหญ่จะเลี้ยง โค , กระบือ , สุกร , เป็ดไข่ ,เป็ดเนื้อ , ไก่พันธุ์เนื้อ ,ไก่พื้นเมือง และห่าน
3) การพาณิชย์
3.1 มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ 2 แห่ง ขนาดเล็ก 7 แห่ง
3.2 มีธนาคาร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารนครหลวงไทย สาขาหล่มเก่า
- ธนาคารออมสิน สาขาหล่มเก่า
3.3 สหกรณ์
มีสหกรณ์จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรฯ
3.4 การบริการ / สถานประกอบการ
ร้านอาหาร จำนวน 3 แห่ง
3.5 การท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลหล่มเก่า เป็นทางผ่านของการเดินทางไปท่องเที่ยว คือ ถนนฤพัฒน์ไปสวนอ่างศิลา
บ้านทับเบิก (หมู่บ้านชาวเขา ) วัดดอยสะเก็ด วัดตาล และทางหลวงแผ่นสาย หล่มสัก – เลย ไปท่องเที่ยวจังหวัดเลย
ด้านสังคม
การศึกษา
1) โรงเรียนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลหล่มเก่า มีจำนวน 4 แห่ง ดังนี้
โรงเรียนอนุบาลบูรณวิทยา ( โรงเรียนเอกชน ) เปิดสอนระดับ
ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนอนุบาลสุภาพพิทยา ( โรงเรียนเอกชน ) เปิดสอนระดับ
ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนอนุบาลหล่มเก่า ( สังกัด สปช. ) เปิดสอนระดับ
ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านพรวน ( สังกัด สปช. ) เปิดสอนระดับ
ชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
- มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา คือ วัด จำนวน 5 แห่ง ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง โบสถ์ (คริสต์) จำนวน 1 แห่ง
- ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียนประเพณี ประเพณีวันสงกรานต์ รดน้ำดำหัว
ประเพณีออกพรรษา แข่งเรือยาว สรงน้ำพระธาตุวังเวิน ประเพณีลอยกระทง
การจัดงานเทศกาลขนมจีนและของดีหล่มเก่าประจำปี
การสาธารณสุข
1) มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่าให้บริการกับประชาชนในเข ตและนอกเขตเทศบาล ดังนี้
โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนว น 4 แห่ง
คลีนิคเอกชน จำนวน 3 แห่ง
2) จำนวนบุคลากรทางการด้านสาธารณสุข
แพทย์ จำนวน 5 คน
ทันต แพทย์ จำนวน 2 คน
เภสัชกร จำนวน 3 คน
พยาบาล จำนวน 84 คน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 7 คน
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจภูธรอำเภอหล่มเก่า จำนวน 1 แห่ง
ป้อมยามตำรวจ จำนวน 1 แห่ง
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) สถิติอัคคีภัย ( 1 ม.ค. 50 – 31 ธ.ค.50 )
- 10 เมษายน 2550 ไฟไหม้บ้าน นายเฉลียว หาญรักษ์ ( บ้านเลขที่ 106 หมู่ 9 บ้านพรวน)
- 19 เมษายน 2550 ไฟไหม้กอไผ่จะลุกลามเข้าบ้านเรือนราษฎร ตำบลบ้านเนิน (นอกเขต)
2) อุทกภัย ( 1 ม.ค. 50 – 31 ธ.ค. 50 )
- 10 กันยายน 2550 ในเขตเทศบาล
3) รถยนต์ดับเพลิง ขนาดความจุน้ำ 2.5 ลบ.ม. จำนวน 1 คัน
4) รถบรรทุกน้ำ ขนาดความจุน้ำ 5 ลบ.ม. จำนวน 1 คัน
5) รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ ขนาดความจุน้ำ 12,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
6) พนักงานดับเพลิง จำนวน 5 คน
7) อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน จำนวน 100 คน
8) การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย ปีที่ผ่านมา จำนวน 2 ครั้ง / ปี
สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งน้ำ คลองลำธาร ห้วย จำนวน 2 แห่ง คือ ห้วยน้ำพุง และ ห้วยน้ำใส
การระบายน้ำ
1) พื้นที่น้ำท่วมถึง คิดเป็นร้อยละ - ของพื้นที่ทั้งหมด
2) ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด - วัน
ขยะ
1) ปริมาณขยะ จำนวน 3 – 5 ตัน / วัน
2) รถยนต์ที่ใช้จัดเก็บขยะ รวม 2 คัน แยกเป็น
ก. คันที่ 1 รถเก็บขนขยะขนาดความจุ 5 ลบ.หลา.
ข. คันที่ 2 รถเก็บขนขยะขนาดความจุ 10 ลบ.หลา
3) ขยะที่เก็บได้ขนได้ จำนวน 15 ตัน / วัน
4) ขยะที่กำจัดได้ จำนวน 5 ตัน / วัน
5) ขยะกำจัดขยะโดยวิธี กองบนพื้น
ฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ
เผาในเตาเผาขยะ
กองบนพื้นแล้วเผา
หมักทำ ปุ๋ย
อื่น ๆ
6) ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้ จำนวน 26 ไร่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลหล่มเก่า นอกเขตเทศบาล
- ; ; ห่างจากเขตท้องถิ่นเป็นระยะทาง จำนวน 4 กม.
- ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่ใช้ไปแล้ว จำนวน 14 ไร่
- เหลือที่ดินกำจัดขยะที่ได้อีก จำนวน 12 ไร่
- คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีก 5 – 10 ปี
7) สภาพการเป็นเจ้าของที่ดินสำหรับกำจัดขยะ เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์
ด้านการเมือง – การบริหาร
โครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงาน ของเทศบาลตำบลหล่มเก่า
การจัดตั้งองค์กรการบริหารเทศบาลตำบลหล่มเก่า เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาลตำบลหล่มเก่า
พ.ศ. 2496 ประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือ
1) ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมฝ่ายบริหาร
ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 12 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
2) ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ไม่เกิน 2 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นผู้แต่งตั้งคณะผู้บริหารเทศบา ล
ตำบลหล่มเก่า โดยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3) อัตรากำลังเทศบาลตำบลหล่มเก่า มีพนักงานเทศบาลทั้งหมด 20 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 10
คน พนักงานจ้างตามภารกิจ 4 คน และ พนักงานจ้างทั่วไป 25 คน โดยมีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและ
รับผิดชอบงานประจำทั่วไป และข้าราชการประจำ การแบ่งส่วนราชการบริหารของเทศบาลตำบลหล่มเก่า
ประกอบด้วย
1) สำนักปลัด รับผิดชอบงานดังนี้
1.1) งานบริหารทั่วไป
- งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ ในสำนักปลัดเทศบาล งานสภาเทศบาล งานการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เป็นต้น และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
- งานการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานบรรจุ การแต่งตั้ง การโอนย้าย การเลื่อนระดับการเลื่อนขั้นเงินเดือน การพัฒนาบุคลากร งานทะเบียนประวัติพนักงานเทศบาลและประวัติของนายกเทศมนตรี ;
รองนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาล และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
1.2) งานทะเบียนราษฎร
มีหน้าที่บริการประชาชนในด้าน การแจ้งย้ายเข้า – ย้ายออก แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งบ้านเลขที่ งานทะเบียนและบัตร และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
1.3) งานป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยในด้านอัคคีภัยและบรรเทาสาธารณภัยต่า ง ๆ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
1.4) งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาสามปี แผนดำเนินงานประจำปี ให้สอดคล้องกับ ปัญหา / ความต้องการ / ความเดือดร้อน ของประชาชนตามความจำเป็นและความเร่งด่วนที่ประชาชนในเขตเทศบาลไ ด้รับความเดือดร้อนหรือตามความต้องการของประชาชนที่ได้ร้องขอมา ยังเทศบาลและ
ตามนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กรมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มติของคณะรัฐมนตรี
และนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งแก้ไข / เปลี่ยนแปลง / เพิ่มเติม แผนพัฒนาของเทศบาลและตามที่ได้รับมอบหมาย
2) กองคลัง
1) งานพัฒนารายได้
- งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่จัดทำแผนที่แม่บท ถ่ายสำเนาโฉนด
สำรวจภาคสนาม และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
- งานผลประโยชน์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ
2) งานบริหารงานคลัง
- งานการเงินและบัญชี
- งานการคลังและงบประมาณ
- งานพัสดุและทรัพย์สิน
3) กองช่าง
1) งานแบบแผนและก่อสร้าง
- งานวิศวกรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับงานโครงสร้างต่าง ๆ เช่น งานถนน งานท่อบล็อก ค.ส.ล. งานอาคารและสถานที่ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
- งานการโยธา มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสาธารณูปโภค มีหน้าที่เกี่ยวกับปรับปรุงและซ่อมแซม งานไฟฟ้า ประปา ท่อระบายน้ำ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
4) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
- งานบริหารสาธารณสุข มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานสุขาภิบาลและอนามัย-สิ่งแวดล้อมและงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
- งานบริการและส่งเสริมการอนามัย มีหน้าที่เกี่ยวกับ งานสัตว์แพทย์ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
5) กองการศึกษา
- งานศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่น
- งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน